วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

คำสมาส


 คำสมาส คือ คำที่เกิดจากการนำคำในภาษาบาลีและสันสกฤตมารวมเข้าด้วยกัน เพื่อทำให้เกิดคำใหม่ ที่มีความหมายใหม่ โดยยังมีเค้าของความหมายเดิมอยู่

การสมาสคำ คือ คือ เป็นวิธีการสร้างคำในภาษาบาลีและสันสกฤตเช่นเดียวกับคำประสมของไทย โดยนำคำตั้งแต่ 2 คำมารวมกันเป็นคำเดียว ซึ่งมีลักษณะคล้ายคำประสม แต่มีข้อแตกต่างกัน คือ คำสมาสนั่นคำหลักมักจะอยู่ข้างหลัง คำขยายมักอยู่ข้างหน้า ถ้าเป็นคำประสมก็จะกลับกันคือ คำหลักอยู่ข้างหน้า คำขยายอยู่ข้างหลัง เช่น




เมืองหลวง คำหลัก คือ เมือง อยู่ข้างหน้า (เป็นคำประสม)
ราชธานี คำหลัก คือ ธานี อยู่ข้างหลัง (เป็นคำสมาส)

หลักสังเกตคำสมาสในภาษาไทย
  1. เกิดจากคำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไป


  2. เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น จะต้องเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต มาสมาสกัน เช่น กาฬพักตร์ ภูมิศาสตร์ ราชธรรม บุตรทาน อักษรศาสตร์ อรรถคดี ฯลฯ จะนำคำไทยหรือคำภาษาอื่นมาสมาสกับคำบาลี หรือสันสกฤตไม่ได้ ถือว่าไม่ใช่คำสมาส เช่น 

  3. พยางค์สุดท้ายของคำหน้า หากมีสระ อะ หรือมีตัวการันต์อยู่ ให้ยุบตัวนั้นออก (ยกเว้นคำบางคำ เช่น กิจจะลักษณะ เป็นต้น) เช่น 

  4. แปลความจากหลังมาหน้า เช่น 

  5. ส่วนมากออกเสียงพยางค์ท้ายของคำหน้า แม้จะไม่มีรูปสระกำกับอยู่ โดยจะใช้เสียง อะ อิ และ อุ (เช่น สมณพราหมณ์ ไม่ใช่ สมณะพราหมณ์ / กาลเทศะ ไม่ใช่ กาละเทศะ) แต่บางคำก็ไม่ออกเสียง (เช่น สมัยนิยม สมุทรปราการ)


  6. คำว่า "วร" เมื่อสมาสกับคำอื่นแล้ว จะนำมาใช้เป็นคำราชาศัพท์ในภาษาไทย และจะแผลงเป็น "พระ" ก็ถือว่าเป็นคำสมาส เช่น


  7. การอ่านออกเสียงระหว่างคำ เมื่อจะอ่านคำสมาส จะต้องอ่านให้มีเสียงสระเชื่อมติดกันระหว่างคำหน้ากับคำหลัง ถ้าระหว่างคำไม่มีรูปสระ ให้อ่านเหมือนมีสระอะประสมอยู่ เช่น 

  8. คำที่มีคำเหล่านี้อยู่ด้วย มักจะเป็นคำสมาส คือ การ กร กรรม คดี ธรรม บดี ภัย ภัณฑ์ ภาพ ลักษณ์ วิทยา ศาสตร์ ศึกษา ศิลป์ 
ราชวัง(บาลี + ไทย)
ทุนทรัพย์(ไทย + สันสกฤต)
สรรพสิ่ง(สันสกฤต + ไทย)
กระยาสารท(เขมร + บาลี)
บายศรี(เขมร + สันสกฤต)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น