วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557


ตัวอย่างคำสมาส

กรรมการ              อ่านว่า      กำ-มะ-กาน  (มาจากคำว่า กรฺม + การ)

คณบดี                 อ่านว่า      คะ-นะ-บอ-ดี  (มาจากคำว่า คณ + ปติ)

จิตรกร                 อ่านว่า      จิต-ตฺระ-กอน  (มาจากคำว่า จิตร + กร)

เจตคติ                 อ่านว่า      เจ-ตะ-คะ-ติ 

ชนบท                  อ่านว่า      ชน-นะ-บด  (มาจากคำว่า ชน + ปท)

ประถมศึกษา          อ่านว่า         ประ-ถม-มะ-สึก-สา 

ประวัติศาสตร์        อ่านว่า         ประ-หวัด-ติ-สาด

มนุษยชน              อ่านว่า         มะ-นุด-สะ-ยะ-ชน

มัธยมศึกษา            อ่านว่า         มัด-ทะ-ยม-มะ-สึก-สา

มาตรฐาน              อ่านว่า         มาด-ตฺระ-ถาน

รัฐมนตรี               อ่านว่า         รัด-ถะ-มน-ตฺรี

วิทยบริการ            อ่านว่า         วิด-ทะ-ยะ-บอ-ริ-กาน 

วิกฤตการณ์           อ่านว่า         วิ-กฺริด-ตะ-กาน

สัตวแพทย์             อ่านว่า         สัด-ตะ-วะ-แพด 

สาธารณภัย            อ่านว่า         สา-ทา-ระ-นะ-ไพ

อุทกภัย                อ่านว่า         อุ-ทก-กะ-ไพ

คำสมาสบางคำไม่อ่านออกเสียงสระท้ายพยางค์ของคำหน้า  (ไม่อ่านออกเสียงอย่างสมาส)

         คำที่เป็นชื่อจังหวัด  ไม่อ่านออกเสียง  “อะ”  ท้ายพยางค์ของคำหน้า  ตัวอย่างเช่น  ชลบุรี  ชัยนาท  นครพนม  นครสวรรค์ปทุมธานี  ปราจีนบุรี  ลพบุรี  สกลนคร  สมุทรปราการ    สมุทรสงคราม  สมุทรสาคร  สุพรรณบุรี   อุดรธานี   อุทัยธานี 

         ชื่อจังหวัดที่ต้องออกเสียงอย่างสมาส  อ่านออกเสียง  “อะ”  ท้ายพยางค์ของคำหน้า  ตัวอย่างเช่น  

         เพชรบุรี    อ่านว่า  เพ็ด-ชะ-บุ-รี    

         เพชรบูรณ์  อ่านว่า  เพ็ด-ชะ-บูน  

         ราชบุรี      อ่านว่า   ราด-ชะ-บุ-รี


คำที่อ่านอย่างสมาสแต่ไม่ใช่คำสมาส  

         นอกจากนี้ยังมีคำที่ไม่ใช่คำสมาสแต่อ่านอย่างสมาส  (เป็นเพราะว่ามีคำหนึ่งมาจากภาษาบาลีหรือสันสกฤต และมีอีกคำหนึ่งที่มาจากภาษาไทยแท้หรือภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาดังกล่าว)  ทั้งหมดนี้จัดว่าเป็นเป็นคำประสมซึ่งเป็นวิธีสร้างคำของไทย  ตัวอย่างคำ

กรมขุน        อ่านว่า  กฺรม-มะ-ขุน 

กรมท่า        อ่านว่า  กฺรม-มะ-ท่า 

กรมพระ      อ่านว่า  กฺรม-มะ-พฺระ

กรมวัง         อ่านว่า  กฺรม-มะ-วัง

กลเม็ด        อ่านว่า   กน-ละ-เม็ด 

คุณค่า          อ่านว่า  คุน-นะ-ค่า

พระพุทธเจ้า   อ่านว่า  พฺระ-พุด-ทะ-เจ้า 

ทุนทรัพย์       อ่านว่า   ทุน-นะ-ซับ  (ทุน เป็นคำไทยแท้)

ผลไม้           อ่านว่า   ผน-ละ-ไม้   

พลขับ          อ่านว่า   พน-ละ-ขับ 

พลความ       อ่านว่า   พน-ละ-ความ 

พลร่ม           อ่านว่า   พน-ละ-ร่ม

พลเมือง        อ่านว่า   พน-ละ-เมือง 

พลเรือน        อ่านว่า   พน-ละ-เรือน   

สรรพสินค้า    อ่านว่า   สับ-พะ-สิน-ค้า

สรรพสิ่ง        อ่านว่า   สับ-พะ-สิ่ง

         ดังนั้น  จึงควรหันมาใส่ใจหลักการอ่านคำไทย  เพื่อเราจะอ่านคำไทยได้อย่างถูกต้องไม่อายใครอันเป็นการรักษ์ภาษาไทยให้เป็นเอกลักษณ์หนึ่งที่สำคัญตราตรึงไว้ในใจคนไทยทุกนะค่ะ  





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น