วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

คำสนธิ



คำสนธิ คือการสมาสโดยการเชื่อมคำเข้าระหว่างพยางค์หลังของคำหน้ากับพยางค์หน้าของคำหลัง เป็นการย่ออักขระให้น้อยลงเวลาอ่านจะเกิดเสียงกลมกลืนเป็นคำเดียวกัน
       หลักสังเกตคำสนธิในภาษาไทย 
การสนธิแบ่งเป็น ประเภท คือ 1. สระสนธิ 2. พยัญชนะสนธิ 3. นฤคหิตสนธิ        1. สระสนธิ คือการนำคำที่ลงท้ายด้วยสระไปสนธิกับคำที่ขึ้นค้นด้วยสระ ซึ่งเมื่อสนธิแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปสระตามกฏเกณฑ์
       - ตัดสระพยางค์ท้ายคำหน้า แล้วใช้สระพยางค์หน้าคำหลัง เช่น
ราช + อานุภาพ
=
ราชานุภาพ
สาธารณ + อุปโภค
=
สาธารณูปโภค
นิล + อุบล
=
นิลุบล
       - ตัดสระพยางค์ท้านคำหน้า และใช้สระพยางค์ต้นของคำหลัง โดยเปลี่ยนสระพยางค์ต้นของคำหลัง
อะ
เป็น
อา
อิ
เป็น
เอ
อุ
เป็น
อู
อุอู
เป็น
โอ
      เช่น
พงศ + อวตาร
=
พงศาวตาร
ปรม + อินทร์
=
ปรเมนทร์
มหา + อิสี
=
มเหสี
     - เปลี่ยนสระพยางค์ท้ายของคำหน้าเป็นพยัญชนะ คือ
อิ อี
เป็น
อุ อู
เป็น
      ใช้สระพยางค์ต้นของคำหลังซึ่งอาจเปลี่ยนรูปหรือไม่เปลี่ยนรูปก็ได้ ในกรณีที่สระพยางค์ต้นของคำหลังไม่ใช่ อิ อี อุ อู อย่างสระตรงพยางค์ท้ายของคำหน้า เช่น
กิตติ + อากร
=
กิตยากร
สามัคคี + อาจารย์
=
สามัคยาจารย์
ธนู + อาคม
=
ธันวาคม
      คำสนธิบางคำไม่เปลี่ยนสระ อิ อี เป็น ย แต่ตัดทิ้ง ทั้ง สระพยางค์หน้าคำหลังจะไม่มี อิ อี ด้วยกัน เช่น
ศักคิ + อานุภาพ
=
ศักดานุภาพ
ราชินี + อุปถัมภ์
=
ราชินูปถัมภ์
หัสดี + อาภรณ์
=
หัสดาภรณ์
      2. พยัญชนะสนธิ คือการเชื่อมคำด้วยพยัญชนะเป็นการเชื่อมเสียง พยัญชนะในพยางค์ท้ายของคำแรกกับเสียงพยัญชนะหรือสระในพยางค์แรก ของคำหลัง เช่น
      -สนธิเข้าด้วยวิธี โลโป คือลบพยางค์สุดท้ายของคำหน้าทิ้ง เช่น
นิรส + ภัย
=
นิรภัย
ทุรส + พล
=
ทุรพล
อายุรส + แพทย์
=
อายุรแพทย์
      -สนธิเข้าด้วยวิธี อาเสโท คือแปลงพยัญชนะท้ายของคำหน้า เป็นสระ โอ แล้วสนธิตามปกติ เช่น
มนส + ภาพ
=
มโนภาพ
ยสส + ธร
=
ยโสธร
รหส + ฐาน
=
รโหฐาน
      3. นฤคหิตสนธิ คือ การเชื่อมคำด้วยนฤคหิต เป็นการเชื่อมเมื่อพยางค์หลังของคำแรกเป็นนฤคหิตกับเสียงสระในพยางค์แรกของคำหลัง มี 3 วิธี คือ
      1. นฤคหิตสนธิกับสระ ให้เปลี่ยนนฤคหิตเป็น ม แล้วสนธิกัน
           เช่น สํ + อาคม = สม + อาคม = สมาคม
                  สํ + อุทัย = สม + อุทัย = สมุทัย
      2. นฤคหิตสนธิกับพยัญชนะของวรรค ให้เปลี่ยนนฤคหิตเป็นพยัญชนะตัวสุดท้ายของพยัญชนะในแต่ละวรรค ได้แก่
                  วรรคกะ เป็น ง
                  วรรคจะ เป็น ญ
                  วรรคตะ เป็น น
                  วรรคฏะ เป็น ณ
                  วรรคปะ เป็น ม
           เช่น สํ + จร = สญ + จร = สัญจร
    

              สํ + นิบาต = สน + นิบาต = สันนิบาต
      3. วรรคกะ เป็นสนธิกับพยัญชนะเศษวรรค ให้เปลี่ยนนฤคหิต เป็น ง
          เช่น สํ + สาร = สงสาร
                  สํ + หรณ์ = สังหรณ์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น